หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การอ่านภาษาจีน

 

วิธีอ่านภาษาจีน

  • ภาษาจีนเป็นภาษารูปภาพ ไม่ใช้ภาษาสะกดผสมอักษรดังเช่นภาษาไทย จึงควรศึกษาวิธีเขียนอ่านตัวสะกดภาษาจีนเอาไว้ เพื่อเวลาพบอักษรตัวใดที่อ่านไม่ออก หรือไม่มั่นใจในการออกเสียง สามารถเปิดค้นหาอ่านในพจนานุกรม และใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ เพื่อพิมพ์ภาษาจีนแบบสะกดคำได้

วิธีเขียนตัวสะกด เพื่อการอ่านออกเสียงได้ถูกต้องที่นิยมใช้มีหลายระบบ เช่น

  • Zhuyin fuhao (注音符號; ㄓㄨˋ ㄧㄣ ㄈㄨˊ ㄏㄠˋ)
  • Tongyong Pinyin (通用拼音; Tōngyòng pīnyīn)
  • Hanyu Pinyin(汉语拼音, Hànyǔ Pīnyīn)
  • Four-corner (四角號碼檢字法)
  • IPA(International Phonetic Alphabet)
  • Wade-Giles pronounced /ˌweɪdˈʤaɪlz/ (威妥瑪拼音 or 韋氏拼音; wēituǒmǎ pīnyīn)
  • เป็นต้น

เราควรรู้จักพยัญชนะ และสระในภาษาจีนเสียก่อน เปรียบเสมือนการเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ ในภาษาไทยนั่นเอง

ในการเริ่มต้นศึกษา ควรอ่านท่องเสียงให้ได้แม่นยำในระบบใดระบบหนึ่งก่อนก็ได้ เช่น

  • แบบจู้อิน (Zhuyin) เป็นแบบดั้งเดิมของจีนที่ใช้กันมาช้านาน เป็นที่นิยมใช้ในหมู่คนจีนที่ ผ่านการศึกษาในรุ่นก่อนๆ ในประเทศจีนไต้หวันเป็นต้น
  • แบบพินอิน (Pinyin) เป็นใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ

ซึ่งทั้งสองระบบนี้ยังเป็นที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวไทยเชื่อสายจีน ที่มีให้พบเห็นได้ทั่วไป แม้นจะมีวิธีการเขียนผสมคำ และเงื่อนไขรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็สามารถสื่อให้คำอ่านได้ถูกต้องชัดเจนไม่ต่างกันมากนัก เว้นแต่ตัวผู้อ่านเองที่ติดในสำเนียงท้องถิ่นเกิดที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้สะกดได้สำเนียงที่เพี้ยนกันอยู่บ้างเล็กน้อย ที่ไม่อาจถือว่า เป็นปัญหาของวิธีการสะกดในแต่ละระบบ

Consonants พยัญชนะในภาษาจีนมี 21 ตัวคือ ㄅ ㄆ ㄇ ㄈ ㄉ ㄊ ㄋ ㄌ ㄍ ㄎ ㄏ ㄐ ㄑ ㄒ ㄓ ㄔ ㄕ ㄖ ㄗ ㄘ ㄙ

ZhuyinTongyong PinyinHanyu PinyinWade-GilesIPAตัวอย่าง(Zhuyin, Pinyin)
เปอbbpp八 (ㄅㄚ, bā)
เพอppp’杷 (ㄆㄚˊ, pá)
เมอmmmm馬 (ㄇㄚˇ, mǎ)
เฟอfff法 (ㄈㄚˇ, fǎ)
เตอddt地 (ㄉㄧˋ, dì)
เทอttt’提 (ㄊㄧˊ, tí)
เนอnnn你 (ㄋㄧˇ, nǐ)
เลอlll利 (ㄌㄧˋ, lì)
เกอggk告 (ㄍㄠˋ, gào)
เคอkkk’考 (ㄎㄠˇ, kǎo)
เฮอhhh好 (ㄏㄠˇ, hǎo)
จีjjch叫 (ㄐㄧㄠˋ, jiào)
ชีcqch’巧 (ㄑㄧㄠˇ, qiǎo)
ซีsxhs小 (ㄒㄧㄠˇ, xiǎo)
จือjhih 【jh】zhi 【zh】chih 【ch】ʈʂɚ主 (ㄓㄨˇ, zhǔ)
ชือchih 【ch】chi 【ch】ch’ih 【ch’】ʈʂʰɚ出 (ㄔㄨ, chū)
ซือshih 【sh】shi 【sh】shih 【sh】ʂɚ束 (ㄕㄨˋ, shù)
ยือrih 【r】ri 【r】jih 【j】ʐɚ入 (ㄖㄨˋ, rù)
จือzih 【z】zi 【z】tzû 【ts】tsɨ在 (ㄗㄞˋ, zài)
ชือcih 【c】ci 【c】tz’û 【ts’】tsʰɨ才 (ㄘㄞˊ, cái)
ซือsih 【s】si 【s】ssû 【s】ɤŋ塞 (ㄙㄞ, sāi)

Vowels สระมี 16 ตัวคือ ㄚ ㄛ ㄜ ㄝ ㄞ ㄟ ㄠ ㄡ ㄢ ㄣ ㄤ ㄥ ㄦ 一 ㄨ ㄩ

ZhuyinTongyong PinyinHanyu PinyinWade-GilesIPAตัวอย่าง(Zhuyin, Hanyu)
อาaaaa大 (ㄉㄚˋ, dà)
ออoooo多 (ㄉㄨㄛ, duō)
เออeeeo/ê得 (ㄉㄜˊ, dé)
เอeêeh爹 (ㄉㄧㄝ, diē)
ไอaiaiaiai晒 (ㄕㄞˋ, shài)
เอยeieieiei誰 (ㄕㄟˊ, shéi)
เอาaoaoaoao少 (ㄕㄠˇ, shǎo)
โอouououou收 (ㄕㄡ, shōu)
อานanananan山 (ㄕㄢ, shān)
เอินenenenên申 (ㄕㄣ, shēn)
อางangangangang上 (ㄕㄤˋ, shàng)
เอิงengengengszŭ生 (ㄕㄥ, shēng)
เอ๋อerererhêrh而 (ㄦˊ, ér)
อี一 หรือㄧyi 【i】yi 【i】yi 【i】i逆 (ㄋㄧˋ, nì)
yin 【in】yin 【in】yin 【in】音 (ㄧㄣ, yīn)
ying 【ing】ying 【ing】ying 【ing】英 (ㄧㄥ, yīng)
อูwu 【u】wu 【u】wu 【u】wu努 (ㄋㄨˇ, nǔ)
wun 【un】wen 【un】wen 【un】文 (ㄨㄣˊ, wén)
wong 【ong】weng 【ong】ng 【ung】翁 (ㄨㄥ, wēng)
อวีyu 【u, yu】yu 【u, ü】yü 【ü】女 (ㄋㄩˇ, nǚ)
yun 【un, yun】yun 【un】yün 【ün】韻 (ㄩㄣˋ, yūn)
yongyong 【iong】yung 【iung】永 (ㄩㄥˇ, yǒng)

Tones วรรณยุกต์ มีดังนี้ ╴ ˊ ˇ ˋ ˙

Zhuyinเทียบเสียง
วรรณยุกต์ไทย
PinyinTongyong PinyinWade-GilesZhuyinIPAตัวอย่าง
(ตัวเต็ม/ตัวย่อ)
1ปกติอินmama1ㄇㄚma˥˥媽/妈
2ˊจัตวาหยังmaˊma2ㄇㄚˊma˧˥麻/麻
3ˇเอกชั้งmaˇma3ㄇㄚˇma˨˩˦馬/马
4ˋโทชี้maˋma4ㄇㄚˋma˥˩罵/骂
5˙เสียงสั้น˙mama˙ma5ㄇㄚ˙

การผสมเสียงระหว่างสระ

ZhuyinPinyinคำอ่านZhuyin
一﹍
Pinyin
i﹍
คำอ่านZhuyin
ㄨ﹍
Pinyin
u﹍
คำอ่านZhuyin
ㄩ﹍
Pinyin
ű﹍
คำอ่าน
aอา﹍一ㄚ-iaเอีย﹍ㄨㄚ-uaอวา
oออ﹍ㄨㄛ-uoอวอ
eเออ
êเอ﹍一ㄝ-ieอีเอ﹍ㄩㄝ-űeเอวีย
aiไอ﹍ㄨㄞ-uaiอวาย
eiเอย﹍ㄨㄟ-uiอุย
aoเอา﹍一ㄠ-iaoเอียว
ouโอ﹍一ㄡ-iuอิว
anอาน﹍一ㄢ-ianเอียน﹍ㄨㄢ-uanอวน﹍ㄩㄢ-űanเอวียน
enเอิน﹍一ㄣ-inอิน﹍ㄨㄣ-unอวุน﹍ㄩㄣ-űnอวีน
angอาง﹍一ㄤ-iangเอียง﹍ㄨㄤ-uangอวง
engเอิง﹍一ㄥ-ingอิง﹍ㄨㄥ-ongอง﹍ㄩㄥ-iongอีอง

  •  พินอิน (Pinyin) หรือ ฮั่นหยู่พินอิน (汉语拼音, Hànyǔ Pīnyīn, ความหมายตามตัวอักษร คือ การถอดเสียงภาษาจีน) เป็นแบบใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ หรือมักจะย่อว่า พินอิน คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ “การรวมเสียงเข้าด้วยกัน” (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบเปอเพอเมอเฟอ (จู้ยิน ฝูฮ่าว) นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่างๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย

นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098)ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)

สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่งๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง “ป” และ “ต” ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้วยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย

การถอดเสียงพยัญชนะแบบพินอิน

พินอินสัทอักษรสากล (IPA)อักษรไทย
p[pʰ]ผ, พ
t[tʰ]ถ, ท
k[kʰ]ข, ค
b[p]
d[t]
g[k]
s[s]ซ, ส
c[tsʰ]ฉ, ช
z[ts]
x[ɕ]ซ, ส
q[tɕʰ]ฉ, ช
j[tɕ]
sh[ʂ]ซ, ส
ch[tʂʰ]ฉ, ช
zh[tʂ]
f[f]ฝ, ฟ
h[x]ห, ฮ
l[l]
r[ʐ] หรือ [ɻ]ร หรือ ย
w[w]ว, อ (เมื่ออยู่หน้า u)
y[j]ย, อ (เมื่อตามด้วย i
และไม่มีตัวสะกด)
m[m]
n[n]
ng[ŋ]


หมายเหตุ:
 เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ-ช, ฝ-ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา, ชือ, เฝิน, ฟั่น ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺหวิน

การถอดเสียงสระ

พินอินอักษรสากล (IPA)อักษรไทย
a[ɑ]อะ / อา
ai[aɪ]ไอ / อาย
an[an], [ɛn]อัน / อาน
ang[ɑŋ]อัง / อาง
ar, anr, air[aɻ]อาร์
ao[ɑʊ]เอา / อาว
e[ɤ], [ə]เออ, เอ (เมื่อตามหลัง y)
ê[ɛ]เอ
ei[ei]เอย์
en[ən]เอิน
eng[ɤŋ]เอิง
er[aɻ], [ɤɻ]เออร์
i[i]อี, อึ / อือ
(เมื่ออยู่หลัง c, ch, r, s, sh, z, zh)
ia[iɑ]เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + อา” แต่ลากเสียงสระท้าย)
ie[iɛ]เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + เอ” แต่ลากเสียงสระท้าย)
iu[iou̯]อิว
o[u̯ɔ]โอ, อัว (เมื่ออยู่หลัง
b, f, m, p, w)
ong[ʊŋ]อง
ou[ou̯]โอว
u[u], [y]อู, อวี (เมื่ออยู่หลัง
j, q, x, y)
ue, uer[]เอว , เอวร์ (เสียงควบ
อว)
ui[ueɪ]อุย
un[uən]อุน, อวิน
(เมื่ออยู่หลัง j, q, x, y)
uo[u̯ɔ]อัว
ü[y]อวี (เสียงควบ อว)
üe[yɛ]เอว (เสียงควบ อว)
ün[yn]อวิน (เสียงควบ อว)

หมายเหตุ: พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ให้ออกเสียงด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ fēi = เฟย์

การถอดเสียงวรรณยุกต์

ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้
1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย:
ā ē ī ō ū ǖ
2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (ˊ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย:
á é í ó ú ǘ
3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (ˇ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง”เอก”):
ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (ˋ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย:
à è ì ò ù ǜ
5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย:
a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)

ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)

การใส่วรรณยุกต์
โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน(e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u
ตัวอย่าง

อักษรจีนพินอินอักษรไทยความหมาย
มา หรือ ม้าแม่
หมาป่าน
หม่าม้า
ม่าดุด่า
·maมะหรือ, ไหม
รวมมาจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไทย และ en.wikipedia.org/wiki/Zhuyin

พินอิน

  • 声母 พยัญชนะ มี 23 เสียง
  • 韵母 สระ แบ่งออกเป็นสระเดี่ยว และ สระผสม ทั้งหมด 36 เสียง
    สระเดี่ยวมี 6 เสียง
    สระผสมมี 30 เสียง
  • 声调: เสียงวรรณยุกต์ มี 4 เสียง และเสียงเบา

วิธีการอ่านออกเสียง
พินอิน เป้นการยืมอักษรโรมันมาแทนเสียงตัวสะกดในภาษาจีน เพื่อการอ่านออกเสียง ที่ไม่ตรงกับอักษรในภาษาอังกฤษ และยังมีกฏการผสมคำ และการใส่เสียงวรรณยุกต์ ที่แตกต่างจากระบบการออกเสียงในภาษาอังกฤษ จึงไม่สามารถถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษโดยตรง

การอ่านเสียงพยัญชนะ 声母 ทั้ง 23 เสียงของภาษาจีน

พยัญชนะวิธีการออกเสียง
bเปอ,ปัว,ปอ
pเพอ,พัว,พอ
mเมอ,มัว,มอ
fเฟอ,ฟัว,ฟอ
dเตอ
tเทอ
nเนอ
lเลอ
gเกอ
kเคอ
hเฮอ
jจี
qชี
xซี
zจือ
cชือ
sซือ
zhจรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว)
chชรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว)
shซรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว)
rยรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว)
yยี
wอู

เสียงสระ 韵母 ทั้ง 36 เสียงของภาษาจีน

1.สระเดี่ยว มี 6 เสียง

สระเดี่ยวเทียบเคียงเสียงวิธีการออกเสียง
aอาอ้าปากออกกว้างมากที่สุด และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ต่ำสุด รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม
oโออ้าปากกว้างในระดับปานกลาง ตำแหน่งลิ้นอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง ริมฝีปากมีรูปลักษณะกลม
eเออ“อ้าปากอยู่ในระดับปานกลาง และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม
ถ้าผสมกับอักษรแทนเสียงสระตัว “i” เป็น “ie” (อี+เย)
iอี+ยี“อ้าปากอยู่ในระดับน้อยที่สุด และให้ริมฝีปากแบนราบ ตำแหน่งของลิ้นให้อยุ่ในระดับสูงค่อนมาข้างหน้า (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะที่เปล่งเสียงออกมาและให้ริมฝีปากกางออกไปทางด้าน ข้างทั้งสองด้าน)
แต่ถ้าอยู่ข้างหลังพยัญชนะ zh, ch, sh, r, z, c, s จะออกเสียง “อือ” ฝีปากกางออกไปทางด้าน ข้างทั้งสองด้าน)” เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yi”
uอูอ้าปากน้อยที่สุด และให้รูปริมฝีปากเป็นรูปวงกลมมากที่สุดตำแหน่งของลิ้นให้ลอยอยู่ในระดับสูง และค่อนไปข้างหลัง (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะเปล่งเสียงออกมา และให้ย่นริมฝีปากเข้าหากัน)หมายเหตุ สระ u อู(อู) ไม่ใช้กับพยัญชนะ y, j, q, x
üอู+วี“(ทำปากเหมือนออกเสียงอู แต่ออกเสียง อี )
ให้รูปริมฝีปากมีรูปวงกลมเล็ก แต่จะไม่ยื่นริมฝีปากออกมาเหมือนกับรูปปาก ที่เปล่งเสียงตัว “u” ตำแหน่งของลิ้นค่อนมาข้างหน้ามีลักษณะนูนสูงขึ้น
เสร็จแล้วจึงเปล่งเสียง “”อี”” โดยให้ริมฝีปากยังคงย่นอยู่จนกว่าเสียงจะสิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้วข้อควรระวังคือ อย่าเลิกย่นริมฝีปากออกเสียก่อนที่เสียง ซึ่งเปล่งออกมานั้นยังไม่จบสิ้นลง เสียงนี้ออกเสียงค่อนข้างยาก เพระว่าในภาษาไทยไม่มีเสียงคนไทยจึงไม่คุ้นเคย

  • ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ y, j, q, x จะต้องตัดจุดสองจุดที่อยู่ข้างบนของ ü ออกไป เช่น ü –> yu üe –> yue
  • ถ้าใช้ควบคู่กับพยัญชนะ l, n จะละสองจุดไม่ได้ ไม่นั้นจะไปซ้ำกับเสียงu (อู) เช่น “”nü” กับ “lü” ทำให้เกิดการสับสนได้

2.สระผสม มี 30 เสียง

  • a) ai ao an ang
  • o) ou ong
  • e) er ei en eng
  • i) ia iao ie iu ian in iang ing iong
  • u) ua uo uai ui uan un uang ueng
  • ü) üe üan ün

 

  • การผสมเสียง(พยัญชนะ+สระ)

วิธีการผสมเสียงต้องประกอบด้วย พยัญชนะ + สระ แล้วผันเสียงวรรณยุกต์

พยัญชนะ รวมกับ สระเดี่ยว 1 ตัว เช่น
ma เมอ อา => ปา
พยัญชนะ รวมกับ สระผสม เช่น
สระผสม 2 ตัว เช่น mai เมอ อาย => มาย
สระผสม 3 ตัว เช่น mang เมอ อาง => มาง
สระผสม 4 ตัว เช่น jiong จี อวง(อี+ยง) => จวง
สระผสมเทียบเคียงเสียงวิธีการออกเสียง
aiอาย (อา+อี)เสียงควบระหว่าง “อาย+อี” ควบรวมเป็นเสียงเดียวกัน
aoเอา (อาว+โอ)เสียงควบระหว่าง “อาว+โอ” ควบรวมเป็นเสียงเดียวกัน
anอาน“อาน” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัน”
angอาง“อาง” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัง”
ouโอว (โอ+อู)เสียงควบระหว่าง “โอว+อู” รวมเป็นเสียงเดียวกัน
ongโองโอง
erเออร์“อา+กระดกลิ้นขึ้นบน+เออร์” เน้นเสียงหนักที่ “เออร์ (กระดกลิ้น)” แล้วจึงลงด้วย “เออ” เบาๆ
eiไอ (เอ+อี)มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “เอ+อี” รวมเป็นเสียงเดียวกัน
enเอินเอิน ปลายเสียงขึ้นจมูก
engเอิงเอิง ปลายเสียงขึ้นจมูก
iaเอีย (อี+ยา)เสียงควบระหว่าง “อี+ยา” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “ya”)
iaoเอียว (อี+ยาว)เสียงควบระหว่าง “อี+ยาว” รวมเป็นเสียงเดียวกัน เป็นเสียงสูงแนวราบตลอด (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yao”)
ieเอีย (เอ+เย)เสียงควบระหว่าง “อี+เย” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “ye”)
iuโอิว (อี+ยู)เสียงควบระหว่าง “อี+ยู” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “you”)
ianเอียน (อี+เยียน)เสียงควบระหว่าง “อี+เยียน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yan” อ่านว่า “เยียน”)
inอยีน (อิน+ยิน)เสียงควบระหว่าง “อิน+ยิน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yin”)
iangโอง (อี+ยาง)เสียงควบระหว่าง “อี+ยาง” รวมเป็นเสียงเดียวกันปลายเสียงขึ้นจมูก (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yang”)
ingอีง (อิง+ยิง)เสียงควบระหว่าง “อิง+ยิง” รวมเป็นเสียงเดียวกันปลายเสียงขึ้นจมูก (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yang”)
iongอวง (อี+ยง)เสียงควบระหว่าง “อี+ยง” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yong”)
uaอวา (อู+วา)เสียงควบระหว่าง “อู+วา” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wa”)
uoอัว (อู+โว)เสียงควบระหว่าง “อู+โว” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wo”)
uaiอวาย (อู+วาย)เสียงควบระหว่าง “อู+วาย” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wai”)
uei , uiอวย (อู+เวย , เวย+อี)เสียงควบระหว่าง “อู+เวย” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wei”) เมื่อ uei สะกดกับตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ละก็ให้ตัดตัวอักษร เหลือเพียง “ui”
uanอวาน (อู+วาน)เสียงควบระหว่าง “อู+วาน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wan”)
unอวน (อู+วัน)เสียงควบระหว่าง “อู+วัน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wen”)
uangอวง (อู+วาง)เสียงควบระหว่าง “อู+วาง” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wang”)
uengเอิง (อู+เวิง)เสียงควบระหว่าง “อู+เวิง” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “weng”)
üeเอูวีย (อู+วี+เอีย)ย่นริมฝีปากก่อน แล้วจึงเปล่งเสียง “ยี+เอ” อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์ได้ว่า “yue” ละจุดสองจุดบนตัว “u”)
-üanเอูวีน (อู+วี+อัน)ย่นริมฝีปากก่อน “ยี+อาน” (เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yuan” ละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ” สามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j” , “q”, “x” และ “y” เป็น “juan”, “quan”, “xuan” และ “yuan” ได้เท่านั้น
-ünยอิง (อวิง+ยิง)ต้องย่นริมฝีปากตลอดเวลาในณะที่เปล่งเสียง “ยิน” ออกมา (เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yun” แล้วละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ) สามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j”, “q”, “x” และ “y” เป็น “jun”, “qun”, “xun” และ “yun” ได้เท่านั้น

ที่มา:http://hakkapeople.com/node/171

การอ่านภาษาจีน

  วิธีอ่านภาษาจีน ภาษาจีนเป็นภาษารูปภาพ ไม่ใช้ภาษาสะกดผสมอักษรดังเช่นภาษาไทย จึงควรศึกษาวิธีเขียนอ่านตัวสะกดภาษาจีนเอาไว้ เพื่อเวลาพบอักษรตั...