วิธีอ่านภาษาจีน
- ภาษาจีนเป็นภาษารูปภาพ ไม่ใช้ภาษาสะกดผสมอักษรดังเช่นภาษาไทย จึงควรศึกษาวิธีเขียนอ่านตัวสะกดภาษาจีนเอาไว้ เพื่อเวลาพบอักษรตัวใดที่อ่านไม่ออก หรือไม่มั่นใจในการออกเสียง สามารถเปิดค้นหาอ่านในพจนานุกรม และใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ เพื่อพิมพ์ภาษาจีนแบบสะกดคำได้
วิธีเขียนตัวสะกด เพื่อการอ่านออกเสียงได้ถูกต้องที่นิยมใช้มีหลายระบบ เช่น
- Zhuyin fuhao (注音符號; ㄓㄨˋ ㄧㄣ ㄈㄨˊ ㄏㄠˋ)
- Tongyong Pinyin (通用拼音; Tōngyòng pīnyīn)
- Hanyu Pinyin(汉语拼音, Hànyǔ Pīnyīn)
- Four-corner (四角號碼檢字法)
- IPA(International Phonetic Alphabet)
- Wade-Giles pronounced /ˌweɪdˈʤaɪlz/ (威妥瑪拼音 or 韋氏拼音; wēituǒmǎ pīnyīn)
- เป็นต้น
เราควรรู้จักพยัญชนะ และสระในภาษาจีนเสียก่อน เปรียบเสมือนการเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ ในภาษาไทยนั่นเอง
ในการเริ่มต้นศึกษา ควรอ่านท่องเสียงให้ได้แม่นยำในระบบใดระบบหนึ่งก่อนก็ได้ เช่น
- แบบจู้อิน (Zhuyin) เป็นแบบดั้งเดิมของจีนที่ใช้กันมาช้านาน เป็นที่นิยมใช้ในหมู่คนจีนที่ ผ่านการศึกษาในรุ่นก่อนๆ ในประเทศจีนไต้หวันเป็นต้น
- แบบพินอิน (Pinyin) เป็นใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ
ซึ่งทั้งสองระบบนี้ยังเป็นที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวไทยเชื่อสายจีน ที่มีให้พบเห็นได้ทั่วไป แม้นจะมีวิธีการเขียนผสมคำ และเงื่อนไขรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็สามารถสื่อให้คำอ่านได้ถูกต้องชัดเจนไม่ต่างกันมากนัก เว้นแต่ตัวผู้อ่านเองที่ติดในสำเนียงท้องถิ่นเกิดที่แตกต่างกัน จึงอาจทำให้สะกดได้สำเนียงที่เพี้ยนกันอยู่บ้างเล็กน้อย ที่ไม่อาจถือว่า เป็นปัญหาของวิธีการสะกดในแต่ละระบบ
Consonants พยัญชนะในภาษาจีนมี 21 ตัวคือ ㄅ ㄆ ㄇ ㄈ ㄉ ㄊ ㄋ ㄌ ㄍ ㄎ ㄏ ㄐ ㄑ ㄒ ㄓ ㄔ ㄕ ㄖ ㄗ ㄘ ㄙ
Zhuyin | Tongyong Pinyin | Hanyu Pinyin | Wade-Giles | IPA | ตัวอย่าง(Zhuyin, Pinyin) | |
---|---|---|---|---|---|---|
เปอ | ㄅ | b | b | p | p | 八 (ㄅㄚ, bā) |
เพอ | ㄆ | p | p | p’ | pʰ | 杷 (ㄆㄚˊ, pá) |
เมอ | ㄇ | m | m | m | m | 馬 (ㄇㄚˇ, mǎ) |
เฟอ | ㄈ | f | f | f | 法 (ㄈㄚˇ, fǎ) | |
เตอ | ㄉ | d | d | t | 地 (ㄉㄧˋ, dì) | |
เทอ | ㄊ | t | t | t’ | tʰ | 提 (ㄊㄧˊ, tí) |
เนอ | ㄋ | n | n | n | 你 (ㄋㄧˇ, nǐ) | |
เลอ | ㄌ | l | l | l | 利 (ㄌㄧˋ, lì) | |
เกอ | ㄍ | g | g | k | 告 (ㄍㄠˋ, gào) | |
เคอ | ㄎ | k | k | k’ | kʰ | 考 (ㄎㄠˇ, kǎo) |
เฮอ | ㄏ | h | h | h | 好 (ㄏㄠˇ, hǎo) | |
จี | ㄐ | j | j | ch | 叫 (ㄐㄧㄠˋ, jiào) | |
ชี | ㄑ | c | q | ch’ | 巧 (ㄑㄧㄠˇ, qiǎo) | |
ซี | ㄒ | s | x | hs | 小 (ㄒㄧㄠˇ, xiǎo) | |
จือ | ㄓ | jhih 【jh】 | zhi 【zh】 | chih 【ch】 | ʈʂɚ | 主 (ㄓㄨˇ, zhǔ) |
ชือ | ㄔ | chih 【ch】 | chi 【ch】 | ch’ih 【ch’】 | ʈʂʰɚ | 出 (ㄔㄨ, chū) |
ซือ | ㄕ | shih 【sh】 | shi 【sh】 | shih 【sh】 | ʂɚ | 束 (ㄕㄨˋ, shù) |
ยือ | ㄖ | rih 【r】 | ri 【r】 | jih 【j】 | ʐɚ | 入 (ㄖㄨˋ, rù) |
จือ | ㄗ | zih 【z】 | zi 【z】 | tzû 【ts】 | tsɨ | 在 (ㄗㄞˋ, zài) |
ชือ | ㄘ | cih 【c】 | ci 【c】 | tz’û 【ts’】 | tsʰɨ | 才 (ㄘㄞˊ, cái) |
ซือ | ㄙ | sih 【s】 | si 【s】 | ssû 【s】 | ɤŋ | 塞 (ㄙㄞ, sāi) |
Vowels สระมี 16 ตัวคือ ㄚ ㄛ ㄜ ㄝ ㄞ ㄟ ㄠ ㄡ ㄢ ㄣ ㄤ ㄥ ㄦ 一 ㄨ ㄩ
Zhuyin | Tongyong Pinyin | Hanyu Pinyin | Wade-Giles | IPA | ตัวอย่าง(Zhuyin, Hanyu) | |
---|---|---|---|---|---|---|
อา | ㄚ | a | a | a | a | 大 (ㄉㄚˋ, dà) |
ออ | ㄛ | o | o | o | o | 多 (ㄉㄨㄛ, duō) |
เออ | ㄜ | e | e | e | o/ê | 得 (ㄉㄜˊ, dé) |
เอ | ㄝ | e | ê | eh | 爹 (ㄉㄧㄝ, diē) | |
ไอ | ㄞ | ai | ai | ai | ai | 晒 (ㄕㄞˋ, shài) |
เอย | ㄟ | ei | ei | ei | ei | 誰 (ㄕㄟˊ, shéi) |
เอา | ㄠ | ao | ao | ao | ao | 少 (ㄕㄠˇ, shǎo) |
โอ | ㄡ | ou | ou | ou | ou | 收 (ㄕㄡ, shōu) |
อาน | ㄢ | an | an | an | an | 山 (ㄕㄢ, shān) |
เอิน | ㄣ | en | en | en | ên | 申 (ㄕㄣ, shēn) |
อาง | ㄤ | ang | ang | ang | ang | 上 (ㄕㄤˋ, shàng) |
เอิง | ㄥ | eng | eng | eng | szŭ | 生 (ㄕㄥ, shēng) |
เอ๋อ | ㄦ | er | er | erh | êrh | 而 (ㄦˊ, ér) |
อี | 一 หรือㄧ | yi 【i】 | yi 【i】 | yi 【i】 | i | 逆 (ㄋㄧˋ, nì) |
yin 【in】 | yin 【in】 | yin 【in】 | 音 (ㄧㄣ, yīn) | |||
ying 【ing】 | ying 【ing】 | ying 【ing】 | 英 (ㄧㄥ, yīng) | |||
อู | ㄨ | wu 【u】 | wu 【u】 | wu 【u】 | wu | 努 (ㄋㄨˇ, nǔ) |
wun 【un】 | wen 【un】 | wen 【un】 | 文 (ㄨㄣˊ, wén) | |||
wong 【ong】 | weng 【ong】 | ng 【ung】 | 翁 (ㄨㄥ, wēng) | |||
อวี | ㄩ | yu 【u, yu】 | yu 【u, ü】 | yü 【ü】 | yü | 女 (ㄋㄩˇ, nǚ) |
yun 【un, yun】 | yun 【un】 | yün 【ün】 | 韻 (ㄩㄣˋ, yūn) | |||
yong | yong 【iong】 | yung 【iung】 | 永 (ㄩㄥˇ, yǒng) |
Tones วรรณยุกต์ มีดังนี้ ╴ ˊ ˇ ˋ ˙
Zhuyin | เทียบเสียง วรรณยุกต์ไทย | Pinyin | Tongyong Pinyin | Wade-Giles | Zhuyin | IPA | ตัวอย่าง (ตัวเต็ม/ตัวย่อ) | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ╴ | ปกติ | อิน | mā | ma | ma1 | ㄇㄚ | ma˥˥ | 媽/妈 |
2 | ˊ | จัตวา | หยัง | má | maˊ | ma2 | ㄇㄚˊ | ma˧˥ | 麻/麻 |
3 | ˇ | เอก | ชั้ง | mǎ | maˇ | ma3 | ㄇㄚˇ | ma˨˩˦ | 馬/马 |
4 | ˋ | โท | ชี้ | mà | maˋ | ma4 | ㄇㄚˋ | ma˥˩ | 罵/骂 |
5 | ˙ | เสียงสั้น | ˙ma | ma˙ | ma5 | ㄇㄚ˙ |
การผสมเสียงระหว่างสระ
Zhuyin | Pinyin | คำอ่าน | Zhuyin 一﹍ | Pinyin i﹍ | คำอ่าน | Zhuyin ㄨ﹍ | Pinyin u﹍ | คำอ่าน | Zhuyin ㄩ﹍ | Pinyin ű﹍ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ㄚ | a | อา | ﹍一ㄚ | -ia | เอีย | ﹍ㄨㄚ | -ua | อวา | |||
ㄛ | o | ออ | ﹍ㄨㄛ | -uo | อวอ | ||||||
ㄜ | e | เออ | |||||||||
ㄝ | ê | เอ | ﹍一ㄝ | -ie | อีเอ | ﹍ㄩㄝ | -űe | เอวีย | |||
ㄞ | ai | ไอ | ﹍ㄨㄞ | -uai | อวาย | ||||||
ㄟ | ei | เอย | ﹍ㄨㄟ | -ui | อุย | ||||||
ㄠ | ao | เอา | ﹍一ㄠ | -iao | เอียว | ||||||
ㄡ | ou | โอ | ﹍一ㄡ | -iu | อิว | ||||||
ㄢ | an | อาน | ﹍一ㄢ | -ian | เอียน | ﹍ㄨㄢ | -uan | อวน | ﹍ㄩㄢ | -űan | เอวียน |
ㄣ | en | เอิน | ﹍一ㄣ | -in | อิน | ﹍ㄨㄣ | -un | อวุน | ﹍ㄩㄣ | -űn | อวีน |
ㄤ | ang | อาง | ﹍一ㄤ | -iang | เอียง | ﹍ㄨㄤ | -uang | อวง | |||
ㄥ | eng | เอิง | ﹍一ㄥ | -ing | อิง | ﹍ㄨㄥ | -ong | อง | ﹍ㄩㄥ | -iong | อีอง |
- พินอิน (Pinyin) หรือ ฮั่นหยู่พินอิน (汉语拼音, Hànyǔ Pīnyīn, ความหมายตามตัวอักษร คือ การถอดเสียงภาษาจีน) เป็นแบบใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ หรือมักจะย่อว่า พินอิน คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ “การรวมเสียงเข้าด้วยกัน” (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)
พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบเปอเพอเมอเฟอ (จู้ยิน ฝูฮ่าว) นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่างๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย
นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098)ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่งๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง “ป” และ “ต” ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้วยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย
การถอดเสียงพยัญชนะแบบพินอิน
พินอิน | สัทอักษรสากล (IPA) | อักษรไทย |
p | [pʰ] | ผ, พ |
t | [tʰ] | ถ, ท |
k | [kʰ] | ข, ค |
b | [p] | ป |
d | [t] | ต |
g | [k] | ก |
s | [s] | ซ, ส |
c | [tsʰ] | ฉ, ช |
z | [ts] | จ |
x | [ɕ] | ซ, ส |
q | [tɕʰ] | ฉ, ช |
j | [tɕ] | จ |
sh | [ʂ] | ซ, ส |
ch | [tʂʰ] | ฉ, ช |
zh | [tʂ] | จ |
f | [f] | ฝ, ฟ |
h | [x] | ห, ฮ |
l | [l] | ล |
r | [ʐ] หรือ [ɻ] | ร หรือ ย |
w | [w] | ว, อ (เมื่ออยู่หน้า u) |
y | [j] | ย, อ (เมื่อตามด้วย i และไม่มีตัวสะกด) |
m | [m] | ม |
n | [n] | น |
ng | [ŋ] | ง |
หมายเหตุ: เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ-ช, ฝ-ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา, ชือ, เฝิน, ฟั่น ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺหวิน
การถอดเสียงสระ
พินอิน | อักษรสากล (IPA) | อักษรไทย |
a | [ɑ] | อะ / อา |
ai | [aɪ] | ไอ / อาย |
an | [an], [ɛn] | อัน / อาน |
ang | [ɑŋ] | อัง / อาง |
ar, anr, air | [aɻ] | อาร์ |
ao | [ɑʊ] | เอา / อาว |
e | [ɤ], [ə] | เออ, เอ (เมื่อตามหลัง y) |
ê | [ɛ] | เอ |
ei | [ei] | เอย์ |
en | [ən] | เอิน |
eng | [ɤŋ] | เอิง |
er | [aɻ], [ɤɻ] | เออร์ |
i | [i] | อี, อึ / อือ (เมื่ออยู่หลัง c, ch, r, s, sh, z, zh) |
ia | [iɑ] | เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + อา” แต่ลากเสียงสระท้าย) |
ie | [iɛ] | เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + เอ” แต่ลากเสียงสระท้าย) |
iu | [iou̯] | อิว |
o | [u̯ɔ] | โอ, อัว (เมื่ออยู่หลัง b, f, m, p, w) |
ong | [ʊŋ] | อง |
ou | [ou̯] | โอว |
u | [u], [y] | อู, อวี (เมื่ออยู่หลัง j, q, x, y) |
ue, uer | [] | เอว , เอวร์ (เสียงควบ อว) |
ui | [ueɪ] | อุย |
un | [uən] | อุน, อวิน (เมื่ออยู่หลัง j, q, x, y) |
uo | [u̯ɔ] | อัว |
ü | [y] | อวี (เสียงควบ อว) |
üe | [yɛ] | เอว (เสียงควบ อว) |
ün | [yn] | อวิน (เสียงควบ อว) |
หมายเหตุ: พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ให้ออกเสียงด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ fēi = เฟย์
การถอดเสียงวรรณยุกต์
ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้
1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย:
ā ē ī ō ū ǖ
2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (ˊ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย:
á é í ó ú ǘ
3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (ˇ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง”เอก”):
ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (ˋ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย:
à è ì ò ù ǜ
5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย:
a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)
ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)
การใส่วรรณยุกต์
โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน(e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u
ตัวอย่าง
อักษรจีน | พินอิน | อักษรไทย | ความหมาย |
---|---|---|---|
妈 | mā | มา หรือ ม้า | แม่ |
麻 | má | หมา | ป่าน |
马 | mǎ | หม่า | ม้า |
骂 | mà | ม่า | ดุด่า |
吗 | ·ma | มะ | หรือ, ไหม |
พินอิน
- 声母 พยัญชนะ มี 23 เสียง
- 韵母 สระ แบ่งออกเป็นสระเดี่ยว และ สระผสม ทั้งหมด 36 เสียง
- สระเดี่ยวมี 6 เสียง
- สระผสมมี 30 เสียง
- 声调: เสียงวรรณยุกต์ มี 4 เสียง และเสียงเบา
วิธีการอ่านออกเสียง
พินอิน เป้นการยืมอักษรโรมันมาแทนเสียงตัวสะกดในภาษาจีน เพื่อการอ่านออกเสียง ที่ไม่ตรงกับอักษรในภาษาอังกฤษ และยังมีกฏการผสมคำ และการใส่เสียงวรรณยุกต์ ที่แตกต่างจากระบบการออกเสียงในภาษาอังกฤษ จึงไม่สามารถถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษโดยตรง
การอ่านเสียงพยัญชนะ 声母 ทั้ง 23 เสียงของภาษาจีน
พยัญชนะ | วิธีการออกเสียง |
---|---|
b | เปอ,ปัว,ปอ |
p | เพอ,พัว,พอ |
m | เมอ,มัว,มอ |
f | เฟอ,ฟัว,ฟอ |
d | เตอ |
t | เทอ |
n | เนอ |
l | เลอ |
g | เกอ |
k | เคอ |
h | เฮอ |
j | จี |
q | ชี |
x | ซี |
z | จือ |
c | ชือ |
s | ซือ |
zh | จรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว) |
ch | ชรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว) |
sh | ซรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว) |
r | ยรือ (อ่านเป็นเสียงเดียว) |
y | ยี |
w | อู |
เสียงสระ 韵母 ทั้ง 36 เสียงของภาษาจีน
1.สระเดี่ยว มี 6 เสียง
สระเดี่ยว | เทียบเคียงเสียง | วิธีการออกเสียง |
a | อา | อ้าปากออกกว้างมากที่สุด และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ต่ำสุด รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม |
o | โอ | อ้าปากกว้างในระดับปานกลาง ตำแหน่งลิ้นอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง ริมฝีปากมีรูปลักษณะกลม |
e | เออ | “อ้าปากอยู่ในระดับปานกลาง และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม ถ้าผสมกับอักษรแทนเสียงสระตัว “i” เป็น “ie” (อี+เย) |
i | อี+ยี | “อ้าปากอยู่ในระดับน้อยที่สุด และให้ริมฝีปากแบนราบ ตำแหน่งของลิ้นให้อยุ่ในระดับสูงค่อนมาข้างหน้า (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะที่เปล่งเสียงออกมาและให้ริมฝีปากกางออกไปทางด้าน ข้างทั้งสองด้าน) แต่ถ้าอยู่ข้างหลังพยัญชนะ zh, ch, sh, r, z, c, s จะออกเสียง “อือ” ฝีปากกางออกไปทางด้าน ข้างทั้งสองด้าน)” เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yi” |
u | อู | อ้าปากน้อยที่สุด และให้รูปริมฝีปากเป็นรูปวงกลมมากที่สุดตำแหน่งของลิ้นให้ลอยอยู่ในระดับสูง และค่อนไปข้างหลัง (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะเปล่งเสียงออกมา และให้ย่นริมฝีปากเข้าหากัน)หมายเหตุ สระ u อู(อู) ไม่ใช้กับพยัญชนะ y, j, q, x |
ü | อู+วี | “(ทำปากเหมือนออกเสียงอู แต่ออกเสียง อี ) ให้รูปริมฝีปากมีรูปวงกลมเล็ก แต่จะไม่ยื่นริมฝีปากออกมาเหมือนกับรูปปาก ที่เปล่งเสียงตัว “u” ตำแหน่งของลิ้นค่อนมาข้างหน้ามีลักษณะนูนสูงขึ้น เสร็จแล้วจึงเปล่งเสียง “”อี”” โดยให้ริมฝีปากยังคงย่นอยู่จนกว่าเสียงจะสิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้วข้อควรระวังคือ อย่าเลิกย่นริมฝีปากออกเสียก่อนที่เสียง ซึ่งเปล่งออกมานั้นยังไม่จบสิ้นลง เสียงนี้ออกเสียงค่อนข้างยาก เพระว่าในภาษาไทยไม่มีเสียงคนไทยจึงไม่คุ้นเคย
|
2.สระผสม มี 30 เสียง
- a) ai ao an ang
- o) ou ong
- e) er ei en eng
- i) ia iao ie iu ian in iang ing iong
- u) ua uo uai ui uan un uang ueng
- ü) üe üan ün
- การผสมเสียง(พยัญชนะ+สระ)
วิธีการผสมเสียงต้องประกอบด้วย พยัญชนะ + สระ แล้วผันเสียงวรรณยุกต์
- พยัญชนะ รวมกับ สระเดี่ยว 1 ตัว เช่น
- ma เมอ อา => ปา
- พยัญชนะ รวมกับ สระผสม เช่น
- สระผสม 2 ตัว เช่น mai เมอ อาย => มาย
- สระผสม 3 ตัว เช่น mang เมอ อาง => มาง
- สระผสม 4 ตัว เช่น jiong จี อวง(อี+ยง) => จวง
สระผสม | เทียบเคียงเสียง | วิธีการออกเสียง |
---|---|---|
ai | อาย (อา+อี) | เสียงควบระหว่าง “อาย+อี” ควบรวมเป็นเสียงเดียวกัน |
ao | เอา (อาว+โอ) | เสียงควบระหว่าง “อาว+โอ” ควบรวมเป็นเสียงเดียวกัน |
an | อาน | “อาน” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัน” |
ang | อาง | “อาง” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัง” |
ou | โอว (โอ+อู) | เสียงควบระหว่าง “โอว+อู” รวมเป็นเสียงเดียวกัน |
ong | โอง | โอง |
er | เออร์ | “อา+กระดกลิ้นขึ้นบน+เออร์” เน้นเสียงหนักที่ “เออร์ (กระดกลิ้น)” แล้วจึงลงด้วย “เออ” เบาๆ |
ei | ไอ (เอ+อี) | มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “เอ+อี” รวมเป็นเสียงเดียวกัน |
en | เอิน | เอิน ปลายเสียงขึ้นจมูก |
eng | เอิง | เอิง ปลายเสียงขึ้นจมูก |
ia | เอีย (อี+ยา) | เสียงควบระหว่าง “อี+ยา” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “ya”) |
iao | เอียว (อี+ยาว) | เสียงควบระหว่าง “อี+ยาว” รวมเป็นเสียงเดียวกัน เป็นเสียงสูงแนวราบตลอด (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yao”) |
ie | เอีย (เอ+เย) | เสียงควบระหว่าง “อี+เย” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “ye”) |
iu | โอิว (อี+ยู) | เสียงควบระหว่าง “อี+ยู” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “you”) |
ian | เอียน (อี+เยียน) | เสียงควบระหว่าง “อี+เยียน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yan” อ่านว่า “เยียน”) |
in | อยีน (อิน+ยิน) | เสียงควบระหว่าง “อิน+ยิน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yin”) |
iang | โอง (อี+ยาง) | เสียงควบระหว่าง “อี+ยาง” รวมเป็นเสียงเดียวกันปลายเสียงขึ้นจมูก (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yang”) |
ing | อีง (อิง+ยิง) | เสียงควบระหว่าง “อิง+ยิง” รวมเป็นเสียงเดียวกันปลายเสียงขึ้นจมูก (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yang”) |
iong | อวง (อี+ยง) | เสียงควบระหว่าง “อี+ยง” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yong”) |
ua | อวา (อู+วา) | เสียงควบระหว่าง “อู+วา” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wa”) |
uo | อัว (อู+โว) | เสียงควบระหว่าง “อู+โว” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wo”) |
uai | อวาย (อู+วาย) | เสียงควบระหว่าง “อู+วาย” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wai”) |
uei , ui | อวย (อู+เวย , เวย+อี) | เสียงควบระหว่าง “อู+เวย” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wei”) เมื่อ uei สะกดกับตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ละก็ให้ตัดตัวอักษร เหลือเพียง “ui” |
uan | อวาน (อู+วาน) | เสียงควบระหว่าง “อู+วาน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wan”) |
un | อวน (อู+วัน) | เสียงควบระหว่าง “อู+วัน” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wen”) |
uang | อวง (อู+วาง) | เสียงควบระหว่าง “อู+วาง” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wang”) |
ueng | เอิง (อู+เวิง) | เสียงควบระหว่าง “อู+เวิง” รวมเป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “weng”) |
üe | เอูวีย (อู+วี+เอีย) | ย่นริมฝีปากก่อน แล้วจึงเปล่งเสียง “ยี+เอ” อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน (เขียนเป็นพยางค์ได้ว่า “yue” ละจุดสองจุดบนตัว “u”) |
-üan | เอูวีน (อู+วี+อัน) | ย่นริมฝีปากก่อน “ยี+อาน” (เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yuan” ละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ” สามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j” , “q”, “x” และ “y” เป็น “juan”, “quan”, “xuan” และ “yuan” ได้เท่านั้น |
-ün | ยอิง (อวิง+ยิง) | ต้องย่นริมฝีปากตลอดเวลาในณะที่เปล่งเสียง “ยิน” ออกมา (เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yun” แล้วละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ) สามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j”, “q”, “x” และ “y” เป็น “jun”, “qun”, “xun” และ “yun” ได้เท่านั้น |